วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551

ความสำคัญของพัฒนาการและการเตรียมความพร้อม

ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการและการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย มีความสำคัญต่อการพัฒนาตัวเด็ก ดังนี้
1. ทำให้ทราบลักษณะการเปลี่ยนแปลงและสามารถประเมินพัฒนาการของเด็กที่เกิดขึ้นในแต่ละวัย การเจริญเติบโตของเด็กจะดำเนินไปตามแบบแผนของพัฒนาการที่มีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และมีทิศทางที่แน่นอน พัฒนาการของเด็กที่เป็นไปตามเกณฑ์ทั่วไปของเด็กในวัยเดียวกัน แสดงว่ามีพัฒนาการสมวัย หากพัฒนาการใดไม่เป็นไปตามเกณฑ์ดังกล่าว อาจมีพัฒนาการล่าช้าหรือผิดปกติได้ จำเป็นต้องรีบค้นหาสาเหตุและแก้ไข
2. ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เด็กทุกคนมีความต้องการพื้นฐานที่สอดคล้องกับพัฒนาการทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคมและสติปัญญา ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการเอาในใส่ดูแลอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จึงจะสามารถพัฒนาตนเองเต็มศักยภาพที่มีอยู่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะและประสบการณ์การเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเสริมสภาพพัฒนาการและเน้นให้เด็กมีประสบการณ์ที่กว้างขวาง
3. ทำให้ยอมรับความแตกต่างของเด็กแต่ละคนตามศักยภาพส่วนบุคคล ความแตกต่างเฉพาะตัวของเด็กขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม โดยที่พันธุกรรมเป็นปัจจัยภายในที่กำหนดคุณลักษณะทางกายภาพและขีดความสามารถที่ติดตัวเด็กมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนสภาพแวดล้อมเป็นปัจจัยภายนอกที่ผันแปรศักยภาพดังกล่าวได้ สามารถพัฒนาเร็วขึ้นหรือล่าช้าได้ เด็กแต่ละคนจึงมีอัตราพัฒนาการที่แตกต่างกันและไม่อาจเปรียบเทียบศักยภาพของการพัฒนาในช่วงเวลาเดียวกันได้ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กจึงจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงความยืดหยุ่นของลักษณะกิจกรรมและระยะเวลา
4. ทำให้สามารถจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยได้สอดคล้องกับระดับความสามารถและวิธีการเรียนรู้ของเด็กในแต่ละวัย เด็กมีความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็นและสนใจสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา การเปิดโอกาสให้เด็กดีรับประสบการณ์ตรงจากการเล่นและใช้จินตนาการตามความนึกคิด ความสนใจและความสามารถของเด็ก เป็นการกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้ รับรู้และการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างราบรื่นและการพัฒนาไปได้จนถึงขีดสูงสุด
5. ทำให้สามารถวิเคราะห์ปัญหาพฤติกรรมเด็ก และแนวทางการป้องกันแก้ไขปัญหาพัฒนาการของเด็กเกิดจากการปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและสลับซับซ้อนระหว่างพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม หากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือทั่งคู่บกพร่องและไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ก็ย่อมก่อให้เกิดปัญหาความผิดปกติของพัฒนาการ อันนำไปสู่ปัญหาพฤติกรรมเด็กได้ ทั้งนี้ระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับความมากน้อยของปัญหา การทำความเข้าใจกับสาเหตุที่มาของปัญหา จะช่วยป้องกันมิให้ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอีกหรือลดน้อยลงรวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที มิให้ลุกลามเป็นปัญหาร้ายแรงในภายภาคหน้าได้

วันศุกร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กิจกรรมส่งเสริมด้านภาษา


กิจกรรมนิ้วมือสื่อภาพพัฒนาภาษา

การเตรียมตัวในการทำกิจกรรม
1.) จัดหากิจกรรม
2.) เตรียมตัวและปรับอารมณ์ของตนเอง
3.) ยอมรับในความคิดของเด็ก
4.) จัดหาอุปกรณ์

การจัดเตรียมอุปกรณ์
1.) กระดาษ
2.) สีไม้/สีเทียน

ขั้นตอนการจัดกิจกรรม
1.) เตรียมตัวให้พร้อมที่จะจัดกิจกรรมและเตรียมอุปกรณ์ให้ครบตามที่ต้องการ
2.) อธิบายถึงขั้นตอนและวิธีทำกิจกรรมให้ครบถ้วนและชัดเจน
3.) แจกกระดาษให้เด็กและเริ่มลงมือทำ
4.) เราพยายามหาคำพูดมาพูดกับเด็กเพื่อเป็นการต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
5.) พอหลังจากที่เด็กๆทำกิจกรรมเสร็จให้เด็กๆมาเล่าถึงภาพที่เด็กๆได้ทำ

สรุปผลการจัดกิจกรรม
หลังจากได้ลงมือจัดกิจกรรมนี้ด้วยตนเองแล้วพบว่าเด็กๆมีจินตนาการเป็นของตนเองซึ่งในบางทีเราอาจจะไม่เข้าใจในรูปที่เค้าวาดออกมาว่าเป็นรูปอะไรแต่เค้าก็สามารถบอกเราได้และก็สามารถเล่าเรื่องราวหรือสิ่งที่ตนเองทำหรือได้พบเจอมาแล้วนำมาวาดได้อย่างชัดเจนและจากการที่ได้พูดคุยกันก่อนที่จะจัดกิจกรรมนั้นทำให้เด็กกล้าที่พูดสิ่งที่ตนเองคิดและกระทำอยู่ได้โดยที่ไม่เขินอาย

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กิจกรรมพัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัย

ภาษาเป็นการใช้คำศัพท์และไวยากรณ์เพื่อการสื่อความหมายในรูปแบบการพูด การเขียนหรือภาษาสัญลักษณ์ การใช้ภาษาของเด็กปฐมวัยเป็นการสื่อด้วยภาษาสัญลักษณ์มากกว่าการพูดหรือเขียน เด็กมีภาษาและวิธีการของเด็ก รูปแบที่เด็กแสดงออกมาที่สุดคือ ศิลปะ การเคลื่อนไหวร่างกาย ดนตรี การพูด และตามด้วยกรเขียน การเรียนรู้ภาษาของเด็กเป็นแรงขับดัน(Drive) ภายในตนประสานกับปฏิสัมพันธ์ (Interaction)กับบุคคลภายนอกและสิ่งแวดล้อมที่ต่อเนื่องกัน ดังนั้นในการสอนภาษาเด็กต้องเริ่มจากสิ่งที่เด็กสามารถสื่อได้มากที่สุดก่อน เด็กจึงจะสามารถพัฒนาทักษะภาษาได้ตามลำดับ
สิ่งที่สำคัญที่ต้องนำมาใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาภาษาให้กับเด็กคือพัฒนาการของเด็ก ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็กดังนี้
* พัฒนาการทางด้านร่างกาย ได้แก่ ความสามารถในการพูด การฟัง ซึ่งหมายถึงความสามารถของการได้ยิน การบอกซ้ายขวา การให้เด็กแสดงออกของท่าทางตามคำศัพท์ เป็นต้น
* พัฒนาการทางสังคม การให้เด็กพูด เด็กเล่าหรือตอบคำถาม ในการสร้างความกล้าของเด็กในการมีปฏิสัมพันธ์ แต่ถ้าเด็กพูดน้อยจะมีปัญหา
* พัฒนาทางอารมณ์ มีผลต่อเด็กทั้งทางด้านบวกและด้านลบ โดยเฉพาะเด็กขี้อาย ขาดความมั่นใจ เด็กควรได้แสดงความสามารถทางภาษาที่เด็กอิสระทีสุด คือ การวาดภาพ ดนตรี
* พัฒนาทางปัญญา สมองเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทางภาษาและปัญญา การได้พูดได้แสดงออกเป็นการฝึกการรับรู้และพัฒนาทางภาษา กิจกรรมทางภาษาที่จัดให้กับเด็กต้องเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เด็กเกิดมโนทัศน์ของคำ ฝึกการใช้เสียง การพูด การแต่งประโยค การตอบคำถามและการเล่าเรื่อง
กิจกรรมการเรียนรู้ภาษาของเด็กจะต้องมีหลากหลายและกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาภาษาได้โดยตรง เช่น
- กิจกรรมรักการอ่าน สร้างเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือและการใช้หนังสือ
- กิจกรรมเล่าเรื่อง
- กิจกรรมวาดภาพเป็นเรื่อง
- กิจกรรมนิทานบทบาทสมมุติ
- กิจกรรมการฟัง เช่น ปฏิบัติตามคำสั่ง ซ้าย-ขวา
- กิจกรรมสนทนา
- กิจกรรมการเขียน
- กิจกรรมบอกชื่อ
- กิจกรรมเรียงตัวพยํญชนะ
- กิจกรรมหนังสือเล่มน้อยของฉัน

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ข้อความแรกของaom~ka


วันนี้อ้อมเขียนเป็นครั้งแรกไม่รู้จะเขียนอะไรดีแค่นี้แหละ

รูปภาพส่วนตัว

รูปภาพส่วนตัว